ประวัติของกระเป๋าแต่ละแบรนด์

เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่ต้องการอยากรู้ความเป็นมาและประวัติของกระเป๋าแต่ละยี่ห้อ ก่อนที่จะมาเป็นแบรนด์ที่รู้จักกันทั่วโลก

วันเสาร์, มกราคม 09, 2553

ประวัติกระเป๋า LOUIS

กระเป๋า LOUIS


ตำนานแห่งการเดินทาง ของ LOUIS VUITTON


ปีค.ศ.1837เป็นปีที่ หลุยส์ วิคตอง เป็นชื่อของกระเป๋าบรรจุสัมภาระเริ่มต้นออกวางขายในมหานครปารีส และสิบห้าปีต่อมาสินค้าชื่อนี้เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักเดินทางที่ต้องมีกระเป๋าชื่อนี้ไว้ในครอบครอง จึงจะเป็นที่ยอมรับว่าเป็นนักเดินทางตัวจริง
มีเรื่องเล่ากันว่าสินค้าชื่อนี้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ ในยุคต้นศตวรรษที่19เมื่อการรถไฟของฝรั่งเศสจะทำการเปลี่ยนหนังหุ้มเบาะในตู้นอนของรถไฟชั้นหนึ่ง จากหนังวัวที่เริ่มจะเปื่อยยุ่ยและชำรุด มาเป็นแผ่นผ้าอาบใยสังเคราะห์ซึ่งถือว่าเป็นวัสดุทันสมัยในยุคนั้น มีความอ่อนนุ่มและทนทานกว่า และยังรักษาความสะอาดได้ง่ายกว่า
แผ่นผ้านี้ผู้ผลิตได้ออกแบบลวดลายเป็นลายดอกไม้สี่กลีบในวงกลมสีเหลืองโอ้คบนผืนผ้าสีน้ำตาลเข้มและใช้ตัวอักษรV Lไขว้กันอันเป็นชื่อย่อของเขา แทนที่จะเป็นW Lอันเป็นตัวย่อของคำว่า Wagon Lit ซึ่งหมายถึง ตู้นอน และผ้าที่ว่านี้ได้ผลิตเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะทำการบุที่นั่งทั้งหมดได้ในทันที
หากแต่ว่าข้อผิดพลาดของ Vและ W เป็นอุปสรรคที่ไม่อาจนำผ้าทั้งหมดไปใช้งานได้ แก้ไขก็ไม่ได้นอกจากต้องสั่งผลิตใหม่ทั้งหมด ผ้าจำนวนนั้นจึงถูกระงับโดยมิอาจนำมาใช้ในงานนี้ได้ จำนวนผ้าลวดลายดังกล่าวทั้งหมดที่ถูกปฏิเสธจึงถูกนำไปแปรรูปใช้ในงานอื่นจากโรงงานผู้ผลิต



กระเป๋าหลุย



เพื่อมิให้เป็นการสูญเปล่า โดยนำไปใช้หุ้มหีบใส่สัมภาระสำหรับการเดินทางซึ่งแต่เดิมเป็นการใช้หนังวัวหุ้มบนโครงหีบไม้ มีหมุดเหล็กตอกเป็นระยะเพื่อความทนทาน อันเป็นหีบที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในขณะนั้น และใช้ชื่อสินค้าตามชื่อสกุลของผู้ผลิตเป็นเครื่องหมายการค้า และนั่นคือที่มาของชื่อ Louis Vuitton
หีบของ หลุยส์ วิคตอง เริ่มเป็นที่รู้จักสำหรับนักเดินทางที่เริ่มเดินทางด้วยเรือเดินสมุทรในเวลาต่อมา ด้วยคุณภาพที่ต่างจากหีบหนังแท้คือมีน้ำหนักเบากว่า สามารถใส่สัมภาระได้มากกว่ารวมทั้งสะดวกต่อการลำเลียง นอกจากนั้นยังไม่ซับน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำฝนหรือน้ำทะเล และเมื่อวางกองรวมอยู่กับหีบเดินทางอื่นๆก็ดูโดดเด่นกว่าด้วยลวดลายที่พิเศษ ง่ายต่อการสังเกตุที่บรรดาลูกหาบและเจ้าของที่จะชี้ได้ในทันที



กระเป๋าก๊อป


ทำให้สินค้าของ หลุยส์ วิคตอง ซึ่งมีบูติคอยู่ที่ทั้งเมืองนีซ เมืองคานนส์ และโมนาโคเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในหมู่ดารานักแสดงและผู้มีฐานะที่ไปใช้เวลาพักผ่อนในช่วงฤดูร้อนที่นั่น หลายครั้งที่หีบและกระเป๋าเดินทางชื่อนี้ถูกนำมาเข้าฉากภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ดฟอร์มใหญ่หลายเรื่องตั้งแต่เรื่องโรมัน ฮอลลิเดย์ ภาพยนตร์รักกระจุ๋มกระจิ๋มเมื่อหลายสิบปีก่อน จนถึงภาพยนตร์ย้อนยุคเช่นเรื่องไททานิค
และล่าสุดคือเรื่อง ดิ อิทาเลียน จ๊อบ ที่ใช้กระเป๋าโอเวอร์ไนท์ของ หลุยส์ วิคตอง ในการลำเลียงทองคำแท่งอันเป็นการยืนยันถึงความทนทาน ซึ่งเท่ากับเป็นการยืนยันให้เห็นถึงรสนิยมและอิทธิพลของสินค้าชื่อนี้ต่อทั้งผู้สร้างและแฟนภาพยนตร์ ด้วยเอกลักษณ์ที่สะดุดตากว่าสินค้าอื่นนั่นเอง
และจากปีค.ศ.1896เป็นต้นมาหีบ หลุยส์ วิคตอง ในลวดลาย โมโนแกรม ก็สำแดงคุณภาพอันพิเศษให้เป็นที่ประจักษ์ยากจะหาใครเหมือน ก็คือความทนทานคุ้มราคานั่นเอง ด้วยหีบส่วนใหญ่ที่มีน้ำหนักมากมักชำรุดเสียระหว่างเดินทาง หากแต่หีบนามนี้กลับมีความทนทานมากกว่า โดยเฉพาะตามขอบมุมที่มักถูกกระทบกระแทกจนช้ำชอก ได้รับการป้องกันด้วยการหุ้มมุมด้วยโลหะและตอกหมุดเย็บตะเข็บเป็นอย่างดี โครงข้างในก็เบาและมั่นคงมีการใช้ซับในที่น่าดู ไม่เหม็นกลิ่นหนังที่อับชื้นและหากมีการชำรุดก็ส่งซ่อมได้โดยง่ายยิ่งทำให้สินค้าชื่อนี้เป็นที่นิยมเป็นทวีคูณ
จากปากต่อปากคำต่อคำในที่สุด หลุยส์ วิคตอง ก็กลายเป็นสินค้าฝรั่งเศสที่ขายดีที่สุดในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นสินค้าที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์เลยแต่ก็เป็นสินค้าที่มียอดขายมากที่สุด


จากร้านเล็กๆในมหานครปารีส ปัจจุบัน หลุยส์ วิคตอง มีบูติคที่เปิดจำหน่ายสินค้าของตนในทุกเมืองสำคัญของโลกกว่าร้อยแห่ง ยิ่งเปิดมากยอดจำหน่ายก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ และเมื่อไม่กี่ปีมานี้เองที่ หลุยส์ วิคตอง เริ่มเพิ่มแบบและเพิ่มสีสันให้ลูกค้าเลือกได้มากขึ้น และมีการใช้กลยุทธ์ในการจำกัดจำนวนและถิ่นฐานของผู้ซื้อ กลับกลายเป็นการกระตุ้นยอดขาย ให้บรรดาผู้ที่นิยมในสินค้าชื่อนี้เดินทางไปตามเมืองต่างๆ เพื่อซื้อหามาเป็นสมบัติของตนให้จงได้ อย่างไม่รู้สึกเสียดมเสียดายในเงินทองที่ต้องจ่ายออกไปแม้แต่
ทั้งที่สินค้าของ หลุยส์ วิคตอง เป็นสินค้าราคาสูงหากแต่ด้วยคุณภาพที่ทนทานคุ้มราคา ทำให้สินค้านี้เป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสิ่งแสดงรสนิยมและฐานะ นอกเหนือไปจากการเป็นนักเดินทางผู้มากด้วยประสพการณ์เช่นเมื่อสองศตวรรษที่แล้ว

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก